e-learning Courseware Designer รุ่นที่ 1 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอรฺ์

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

แนะนำ video player บทสนทนาภาษาอังกฤษ

แนะนำ video player บทสนทนาภาษาอังกฤษ จาก EF Education First

สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการฟังหรือการพูด
คลิกที่ลิงค์นี้คะ
http://venglish.ef.com/master/promos/2007/podmovies/PodEnglish.html
จากนั้นเลือก download บทสทนาได้ตามต้องการคะ


ที่มา http://venglish.ef.com/master/welcome/campaign_asia/tl/vcharkarn/podenglish.asp

หลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ Collan Method โรงเรียน HHH International College เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย





วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

แนวโน้มไอที ปี 52



แนวโน้มโลกไอที ปี 2552

แนวโน้มโลก ไอที ปี 2552 โกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด

คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีบทบาทในโลกธุรกิจยิ่งขึ้น เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กรลงอย่างได้ผล ยิ่งเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย สิ่งที่น่าจะเห็นในอนาคตอันใกล้คือการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนแรง งานคน เกิดการขยายตัวของรูปแบบการทำงานที่บ้าน โดยอาศัยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การทำงานแบบไร้กระดาษ ตลอดจนธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ทวีจำนวนขึ้น เหตุนี้แนวโน้มธุรกิจกับการวัดคุณค่าขององค์กรจึงมีแนวโน้มเปลี่ยนไป จากเดิมวัดที่ขนาดองค์กรและจำนวนพนักงาน มาเป็นวัดประสิทธิภาพบุคลากร องค์กรใหญ่จะแตกออกเป็น profit center หรือ business unit มากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อม สิ่งที่ต้องตระหนักถึงและเตรียมรับมือให้พร้อม คือ

* เทคโนโลยี Two-Factor Authentication เป็นการระบุตัวตนในโลกอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใช้เพียง username และ password ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่มิจฉาชีพอาจขโมยข้อมูลและปลอมตัวเพื่อแสวงประโยชน์ได้ (Identity Threat) เทคโนโลยีจึงมีแนวโน้มอุดช่องโหว่ ด้วยการใช้ Token หรือ Smart card ID มาเสริมเพื่อเพิ่มปัจจัยในการพิสูจน์ตัวตน โดยเฉพาะกับการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ

* เทคโนโลยี Single Sign On (SSO) เข้าระบบต่างๆ ด้วยรายชื่อเดียวเชื่อมทุกแอพพลิเคชั่นเข้าด้วยกัน จำเป็นมากในยุค Social Networking ช่วยให้เราไม่ต้องจำ username / password จำนวนมาก สำหรับอี-เมล chat, web page รวมถึงการใช้บริการ Wi-Fi / Bluetooth / WiMAX / 3G / 802.15.4 เป็นต้น

* เทคโนโลยี Cloud Computing เมื่อมีการเก็บข้อมูลและใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากขึ้นตามการขยายตัวของระบบงานไอที ส่งผลให้เครื่องแม่ข่ายต้องประมวลผลการทำงานขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็ว จึงมีแนวคิดเทคโนโลยี Clustering เพื่อแชร์ทรัพยากรการประมวลผลที่ทำงานพร้อมกันหลายเครื่องได้ เรียกว่า Cloud Computing ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปราศจากข้อจำกัดทางกายภาพ เข้าสู่ยุคโลกเสมือนจริงทางคอมพิวเตอร์ (visualization) ทั้งยังช่วยลดทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถือเป็นไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green IT) อีกด้วย

* เทคโนโลยี Information Security Compliance Law โลกไอทีเจริญเติบโตไม่หยุดนิ่ง ด้วยมาตรฐานที่หลากหลาย ระบบความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ จึงมีแนวโน้มจัดมาตรฐานเป็นหมวดหมู่ เพื่อความปลอดภัยข้อมูลในองค์กร โดยนำ Log ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานมาจัดเปรียบเทียบตามมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO27001 สำหรับความปลอดภัยในองค์กร, PCI / DSS สำหรับการทำธุรกรรมการเงิน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อสืบหาผู้กระทำความผิด เป็นต้น

* เทคโนโลยี Wi-Fi Mesh Connection ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ต้องเชื่อมโยงผ่าน Access Point สามารถเชื่อมต่อแบบ Mesh (ตาข่าย) เข้าถึงโลกออนไลน์ได้สะดวกขึ้น ผู้ให้บริการ Wi-Fi ก็มีแนวโน้มใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บบันทึกการใช้งานผู้ใช้ (Accounting Billing) และนำระบบ NIDS (Network Intrusion Detection System) มาใช้ เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกหลากรูปแบบ เช่น การดักข้อมูล, การ crack ค่า wireless เพื่อเข้าถึงระบบ หรือปลอมตัวเป็นบุคคลอื่นโดยมิชอบ เป็นต้น

* เทคโนโลยีป้องกันทางเกตเวย์แบบรวมศูนย์ (Unified Threat Management) แม้เทคโนโลยีนี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ต้องกล่าวถึงเนื่องจากธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มเป็นเอสเอ็มอีมากขึ้น เทคโนโลยีนี้ถือว่ามีประโยชน์กับธุรกิจขนาดเล็ก เพราะผนวกการป้องกันในรูปแบบ Firewall / Gateway เทคโนโลยีป้องกันข้อมูลขยะ (Spam) การโจมตีของ Malware/virus/worm การใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม (Content filtering) รวมอยู่ในอุปกรณ์เดียว

* เทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึก (Network Forensics) การกลายพันธุ์ของ Virus/worm computer ทำให้ยากแก่การตรวจจับด้วยเทคนิคเดิม รวมถึงพนักงานในองค์กรมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ทักษะไปในทางที่ไม่เหมาะสม หรือเรียกได้ว่าเป็น "Insider hacker" การมีเทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึกจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจจับสิ่งผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นผ่านระบบเครือข่าย เพื่อใช้ในการพิสูจน์หาหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการดำเนินคดี

* เทคโนโลยี Load Balancing Switch สำหรับ Core Network เพื่อใช้ในการป้องกันการสูญหายของข้อมูล (Data loss) โดยเฉพาะในอนาคตที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายจะสูงขึ้น เทคโนโลยีนี้จะช่วยกระจายโหลดไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ได้ เช่น Network Firewall หรือ Network Security Monitoring และอื่นๆ โดยไม่ทำให้ข้อมูลสูญหาย

แนวโน้มภัยคุกคาม

ภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2552 คงไม่ต่างจากปี 2551 แต่จะมีเทคนิคใหม่ เพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้น ด้วยช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายยิ่งขึ้นยิ่งเรื่อง Personal Mobile Devices ที่ใช้มือถือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และมีการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นมากขึ้น เกิดภัยคุกคามในรูปแบบที่เรียกว่า Zombie หรือ "ผีดิบซอฟต์แวร์" จำนวนมาก รวมเรียกว่า Botnet
ในอนาคตผีดิบพวกนี้จะมาจากมือถือด้วย ก่อให้เกิดการโจมตีในหลายรูปแบบ เช่น DDoS/DoS ทำให้เป้าหมายไม่สามารถปฏิบัติงานได้ การส่งสแปม การหลอกลวงผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (Phishing) การเจาะระบบ (Hack) เพื่อเข้าถึงข้อมูลชั้นความลับ วันนี้แฮกเกอร์ไม่ได้มีเป้าหมายเจาะระบบเครือข่ายธนาคารหรือผู้ให้บริการ ธุรกรรมออนไลน์ แต่เปลี่ยนเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายกว่าแทน อาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องมือ สิ่งเหล่านี้ป้องกันได้หากรู้เท่าทันภัยคุกคามดังกล่าว...โดยเริ่มต้นจากตัว เราเอง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://hilight.kapook.com/view/32105

แนวคิดดีๆ จากพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

การสร้างห้องแชท Cbox หรือ Shoutbox


ห้องแชท Cbox หรือ Shoutbox จะต้องติดตั้งอย่างไร ?????? อันดับแรกใส่ code ที่เอามาจากเวบ www.cbox.ws ดังนี้คะ

1. ไปที่ www.cbox.ws จะเจอหน้าตาดังรูป ให้กดที่ Tab 'Sign Up' แต่ต้องลงทะเบียนกันก่อนนะคะ

2. ใน Tab 'Sign Up' กรอกข้อมูลลงไปเลย อย่าลืมจำ Username กับ Password ไว้ด้วยนะ จากนั้นกดปุ่ม 'Create my Cbox!' ได้เลย พอกดปุ่มปุ๊บ เราจะได้รับ email จากเวบ หากลืม Password ก็ไปดูที่ email ได้นะคะ

3. ลงทะเบียนเสร็จจะขึ้นหน้าจอดังรูป ก็กด 'Continue>>' ต่อได้เลย มันจะพาเราไปหน้า Log In

4. หลังจาก Log In จะเข้ามายังหน้าที่มี code Cbox แล้วค่ะ แต่ช้าก่อน เพราะว่า เราสามารถตกแต่ง Cbox เพิ่มเติมได้ โดยดูที่เมนูทางซ้ายมือ กด 'Colors & Fonts'

5. ในหน้าจอ 'Colors & Fonts' เราสามารถกำหนดสีของส่วนต่าง ๆ ของ Cbox ได้ ถ้าต้องการเลือกแบบที่มีอยู่แล้ว ให้กด 'Preset' (หมายเลข 1) ถ้าต้องการเลือกสีเอง ก็ดูสีได้จาก 'Colour Picker' (หมายเลข 2) แล้วก็เอารหัสสีมาใส่ค่ะ พอเปลี่ยนรหัสสีแล้วรูป Cbox ก็จะเปลี่ยนตาม (หมายเลข 3) แต่งจนโอเคแล้วก็กดปุ่ม 'Apply' (หมายเลข 4) ได้เลยค่ะ

6. พอกดปุ่ม 'Apply' แล้ว เราก็จะกลับมาหน้าเดิม :D ให้ดูเมนูทางซ้ายมือ กด 'Quick Setup' เพื่อกลับมาเอา code cbox ค่ะ copy code มาทั้งหมดเลย

7. มาดูหน้าตา code Cbox ที่ได้กันก่อน ดังข้างล่าง

8. แบ่ง code ออกเป็น 2 ส่วน โดยลบส่วน comment, <> และ <> ออกได้เลย จะเหลือ code ดังรูป (สังเกตว่า code เป็น 2 ส่วนแล้วนะ เดี๋ยวตอน Add Link จะใส่ทีละส่วนนะคะ)

9. ยังไม่พอเพราะว่า code ยังยาวเกินกว่าจะใส่ลงใน Link ของ Exteen ค่ะ เพราะฉะนั้นต้องลบเครื่องหมาย "" (double quotes) ออกด้วยค่ะ จะเหลือ code ดังรูป เมื่อลบเสร็จแล้ว ให้จัดให้ code อยู่บรรทัดเดียวกันด้วยนะคะ

ต่อไปจะเป็นการใส่ code ลงบลอคที่ Exteen

10. ไปที่ Manage -> Links ดูตรงทางขวามือ จะมีกล่อง 'New Link' อยู่

11. ช่อง URL ให้ใส่เครื่องหมาย # และช่อง Description ให้ใส่ code จากข้อ 9 ค่ะ โดย code ทั้งสองส่วน ต้องใส่ช่อง URL เป็น # เหมือนกันนะคะ ดังรูป

12. ตรวจสอบก่อน ว่า link ที่เพิ่มไป มาครบทุกตัวอักษรรึป่าว โดยดูที่หน้าเดิมเลยค่ะ ดู Link ล่าสุดที่เป็น code cbox ถ้า code มาไม่ครบ แสดงว่า code ยังยาวเกินอยู่นะ

13. เสร็จแล้ว ไปดู Cbox ในบลอคได้เลย

ที่มา http://jennessa.exteen.com/20071029/cbox-step-by-step

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต


จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ
แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตน ยึดถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ จะช่วยให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ ข้อบังคับของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิกจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่
น่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือ
จำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่
เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้
เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อ
ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์
การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วย
ให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป

จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ (WWW)

1. ไม่ควรใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจของท่าน เพราะทำให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามาก ในการแสดงภาพ
เหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ทำให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่เบื่อเกิน
กว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้

2. เมื่อเว็บเพจของท่านต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ท่านควรแจ้งให้เจ้าของเว็บเพจ นั้นทราบ
ท่านสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3. ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ท่านควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็นต้น) เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถคำนวนเวลา ที่จะใช้ในการดาวน์โหลด ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เสียงนั้น

4. ควรตั้งชื่อ URL ให้ง่าย ไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจำได้ยาก

5. ถ้าต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด ท่านสามารถเริ่มค้นหาจาก Domain address ได้
โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซต์

6. ถ้าเว็บไซด์มี link เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วยรูปภาพ อาจทำให้ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่
ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซต์ของท่านได้ ท่านควรเพิ่ม link ที่เป็นตัวหนังสือเพื่อเชื่อมโยง
ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วย

7. ไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียเวลา
ในการเรียกดูและสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น

8. ควรป้องกันลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ด้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมาย Copyright
ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย

9. ควรใส่ Email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถสอบถามเพิ่มเติม
หรือติดต่อท่านได้

10. ท่านควรใส่ URL ของเว็บไซต์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในอนาคตสำหรับ
ผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น

11. ควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซต์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น
มีความทันสมัยเพียงใด

12. ห้ามไม่ให้เว็บไซด์มีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจาร หรือการใช้ความ รุนแรง
เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดทำเว็บไซต์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นั้น

จรรยาบรรณเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) และแฟ้มข้อมูล

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีตู้จดหมาย (mailbox) และอีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะระบบจะรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติ หากมีจดหมายค้างในระบบเป็นจำนวนมาก จะทำให้พื้นที่จัดเก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของระบบหมดไป ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายได้อีก ทำให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายที่สำคัญได้อีกต่อไป นอกจากนี้ผู้ใดผู้หนึ่งส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่มาก ส่งแบบกระจายเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายคน จะทำให้ระบบหยุดทำงานได้เช่นกัน

ผู้ใช้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บตู้จดหมายของแต่ละคนมิได้ มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนแต่อาจมีผู้ใช้เป็นพันคน หมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมายของตนเอง ดังนี้

1. ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวัน และจะต้องจัดเก็บแฟ้มข้อมูลและจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์
ของตนให้เหลือภายในโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนดให้

2. ลบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการแล้ว ออกจากระบบเพื่อลดปริมาณการใช้เนื้อที่ระบบ

3. ดูแลให้จำนวนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในตู้จดหมาย มีจำนวนน้อยที่สุด

4. ควรโอนย้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้อ้างอิงภายหลัง มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง

5. พึงระลึกเสมอว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ดังนั้น ไม่ควรจัดเก็บข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วไว้ในตู้จดหมาย

หลังจากผู้ใช้ได้รับบัญชี (account) ในโฮสจากผู้บริหารเครือข่าย ผู้ใช้จะได้รับสิทธิ์ ให้ใช้เนื้อที่ของระบบ ซึ่งเป็นเนื้อที่เฉพาะที่เรียกว่า "โฮมไดเรกทอรี" ตามจำนวนโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนด ผู้ใช้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อเนื้อที่ดังกล่าว เพราะเนื้อที่ของระบบเหล่านี้เป็นเนื้อที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่นโฮสแห่งหนึ่งมีผู้ใช้ร่วมกันสามพันคน ถ้าผู้บริหารเครือข่ายกำหนดเนื้อที่ให้ผู้ใช้คนละ 3 เมกะไบต์ โฮสจะต้องมีเนื้อที่จำนวน 9 จิกะไบต์โดยความเป็นจริงแล้ว โฮสไม่มีเนื้อที่จำนวนมากเท่าจำนวนดังกล่าว เพราะผู้บริหารเครือข่ายคิดเนื้อที่โดยเฉลี่ยของผู้ใช้เป็น 1 เมกะไบต์ ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและจัดเก็บเฉพาะแฟ้มข้อมูล ที่จำเป็นจะทำให้ระบบมีเนื้อที่ใช้งานได้มาก ผู้ใช้ทุกคนควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้

1. จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในโฮมไดเรกทรอรีของตนให้มีจำนวนต่ำที่สุด ควรโอนย้ายแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ของตนเอง

2. การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนและผู้อื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรจะตรวจสอบ
ไวรัสเป็นประจำ เพื่อลดการกระจายของไวรัสในเครือข่าย

3. พึงระลึกเสมอว่าแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้บนเครื่องนั้น อาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่า ดังนั้นผู้ใช้
ไม่ควรเก็บแฟ้มข้อมูลที่เป็นเรื่องลับเฉพาะไว้บนโฮส

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อการจัดการศึกษา

จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการนำมาใช้ประโยชน์
ทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีสาระสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนี้

1. เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
หรือเสมือนหนึ่งมี " ห้องสมุดโลก" (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส เช่น ครูและนักเรียน
สามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกโดยไม่มีข้อจำกัด ทางด้านสถานที่ และเวลา
(Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาส อันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่ง
ห้องสมุดที่ดี สามารถค้นหา ข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นเด็กนักเรียนเอง สามารถร่วม
กันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็กทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถ
นำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอนลงในเว็บไซต์ เพื่อให้นักเรียนได้
ศึกษาและแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน

2. พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ต สามารถให้บริการ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น
ในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเอง
ซึ่งในปัจจุบันคณาจารย์ จำนวนมากในหลายสถาบันทั้งระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ใช้เครือข่ายคอม
พิวเตอร์เป็น สื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสาร ระหว่าง
นักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียนในเชิงวิชาการ

3. เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน จะทำให้บทบาทของครู
ปรับเปลี่ยนไปจากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้
ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวก ที่สำคัญ
ที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวก
รวดเร็ว และมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็มีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า บทบาทและรูปแบบที่จะปรับเปลี่ยน
ไปนี้จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ "ชี้แนะ" ให้
รัดกุม เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น ปรับจากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (learning how to learn) และเป็นการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง

ที่มา http://www.skn.ac.th/a_cd/printout/printpage2.html

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers)

ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ Internet Service Providers (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้ ผู้ให้บริการ (ISP) ในประเทศ มีหลายที่ เช่น KSC, Loxinfo, Samart และอีกหลายๆ แห่งที่เปิดให้บริการ

การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย

ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีผู้ร่วมใช้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกัน เช่น พวกที่คอยดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษจั๊มสายเคเบิลแล้วแอบบันทึกสัญญาณ พวกแคร๊กเกอร์ (Crackers) ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์แต่มีนิสัยชอบเข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวังในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบ

การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระทำได้หลายวิธี คือ

1. ควรระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา
หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต

2. หมั่นสำเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทำลายของข้อมูลที่ดีก็คือ การหมั่นสำเนา
ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

3. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้
ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันได้ทั้งหมด เพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

4. การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่ป้องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะเครือข่ายในองค์กร
เพื่อขโมยหรือทำลายข้อมูล เป็นระยะที่ทำหน้าที่ป้องกันข้อมูลของเครือข่าย โดยการควบคุมและตรวจสอบการรับส่ง
ข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5. การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) การใช้รหัสผ่านเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรก
ที่ใช้กันมากที่สุด เมื่อมีการติดตั้งระบบเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หากเป็นผู้อื่นที่
ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้ หากเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยน
รหัสผ่านบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ที่มา http://www.skn.ac.th/a_cd/printout/printpage2.html


ประวัติ Internet

ประวัติของอินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร
โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency) ปี 2515 หลังจากที่ เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ
ที่จะรองรับภาระที่
เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่
่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับ
เครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัย
เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัคร
เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต"
หรือ ISP (Internet Service Provider)

อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่ง
กลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร ออกไป สู่สังคมภายนอกให้ได้ทราบ
นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลกที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ควบคู่กันไป
ด้วยเหตุที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรวมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านทางระบบ
การสื่อสาร (communications) เช่น ทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ โมเด็ม และ ดาวเทียม เป็นต้น เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก เราเรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (internet) ซึ่งรวมเอาเครือข่าย
ต่างๆ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อ (links) เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่ม
ของข้อมูลกันเองเพื่อสะดวกต่อการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว ระบบเครือข่ายจำนวนมากรวมเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักนิยมเรียนสั้นๆ ว่า "เน็ต" (Net)
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิบริโภคอย่างเท่าเทียมกันไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ โดยแต่ละองค์กร หรือ
หน่วยงานก็จะรับผิดชอบดูแลในส่วนของตนที่เกี่ยวข้อง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่เข้ามา
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการด้วยเหตุผลและความต้องการที่ต่างๆ กันซึ่งพอที่จะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ คือ -
เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสาร งานวิจัย และ เพื่อการศึกษา - เพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การซื้อขายสินค้า - เพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว - เพื่อหาซื้อสินค้า และบริการต่างๆ - เพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น - เพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูล - รับส่งจดหมาย เอกสาร ข้อความ

บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น

- เวิลด์ ไวด์ เว็บ WWW

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

- FTP

- Telnet

- UseNet NewsgroupsChat

เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web)

เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่ายใยแมงมุมได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดียทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้

1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2.
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์
คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้น
จาก ยูนิกซ์ (UNIX) หรือวินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://ww.swu.ac.th เขียนด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer
เว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (Home Page) การเข้าถึงเว็บเพจใดๆ นั้นผู้ใช้จะต้องทราบตำแหน่งที่อยู่ของเพจนั้น ๆ บนเว็บเสียก่อน ตำแหน่งที่อยู่ เหล่านี้ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) ตัวอย่างของ URL ได้แก่

http://www.swu.ac.th URL ที่เป็นโฮมเพจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

http://www.tv5.co.th URL ที่เป็นโฮมเพจของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5

http://www.nectec.or.th URL ที่เป็นโฮมเพจของ NECTEC

http://www.yahoo.com URL ที่เป็นโฮมเพจของ Yahoo

http://www.srithai.com URL ที่เป็นโฮมเพจของ Srithai

http://www.geocities.com/TheTropics/Paradise/2703 URL โฮมเพจฟรีของ Geocities

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว
หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับ
จะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการ
สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อน
นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง
ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นราย
บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาสังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่ง
จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้ ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงานหรือ สถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์

การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)

ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับเครี่อง คอมพิวเตอร์ กระทำได้โดยง่าย ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองนี้จะอยู่ห่างกัน เพียงใดก็ตาม เพียงแต่ผู้ใช้ใช้คำสั่งในการ ถ่ายโอนข้อมูลในเครือข่าย (FTP) ก็สามารถ คัดลอกแฟ้มที่ต้องการได้ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลที่มักจะพบบ่อยๆ แบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ การโอนย้ายจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์มายังคอมพิวเตอร์ส่วนตัว(Download) และการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังคอมพิวเตอร์หลักในระบบเครือข่าย(Upload)ได้ทั่วโลก เทลเน็ต (Telnet)

เป็นบริการในการเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการสั่งงานที่เครื่องของผู้ใช้เอง เป็นการควบคุมการทำงานและการบังคับในระยะไกล การเรียกใช้บริการเทลเน็ตนั้นผู้ใช้ จะต้องระบุที่อยู่ของโฮสต์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่จะเข้าไปใช้เสียก่อน เช่น การเข้าไปใช้บริการ Telnet ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ เราก็จะต้องระบุที่อยู่ ของโฮสต์ www.swu.ac.th เสียก่อน และที่สำคัญคือผู้ใช้จะต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านของโฮสต์นั้นๆ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้

บอร์ดข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต (Usenet Newsgroup)

Usenet เป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากอีกบริการหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับการใช้อีเมล์ แต่แทนที่จะส่งจดหมายไปหาผู้รับโดยตรงอย่างอีเมล์ ก็จะเปลี่ยนเป็นการส่งข่าวไปยังศูนย์ที่เรียกว่า กลุ่มข่าว (Newsgroup)ซึ่งอาจเปรียบกลุ่มข่าว ได้กับบอร์ดข่าวสารที่ใช้ติดประกาศให้ผู้สนใจได้รับทราบ

การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat)

Chat เป็นการประชุมหรือสนทนาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรียกย่อ ๆ ว่า IRC
(Internet Relay Chat) มีลักษณะคล้าย ๆ กับการทอล์ค (Talk) ซึ่งสามารถคุยเป็นการส่วนตัว หรือเป็นกลุ่มก็ได้โดยใช้การพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันแบบทันทีทันใด ข้อความนั้นจะไปปรากฎบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ที่ติดต่อด้วยในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อผู้รับอ่านข้อความนั้นแล้ว ก็สามารถพิมพ์ข้อความตอบกลับได้ในทันที ซึ่งในวงการการศึกษาสามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกลได้ เราสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ทั่วโลกโดยการพิมพ์ข้อความถึงกัน การสนทนาลักษณะนี้เราเรียกว่า chatting ทำให้ผู้คนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ได้อย่างสะดวก ประหยัด ค่าใช้จ่าย เพราะลักษณะของการติดต่อสื่อสารจะไม่ต้องเสียค่าบริการแบบโทรศัพท์ทางไกล

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท
หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายใน
องค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased
Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจ
ใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว
ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
หรือที่
เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ
อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้าไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้ 1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย 2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้
มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
มีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับ
ความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็น
ส่วนย่อยๆ ( เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ต
เหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์
อีกครั้งหนึ่ง รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถ
ช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วน
เท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์
ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน

SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์

ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบLAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง

SLIP

โปรโตคอล SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูล
ระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม และเป็นที่ใช้ กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโปรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที

PPP

เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน (LAN) นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น PPP จึงเป็นโปรโตคอล ที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่ม ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการบีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า SLIP และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป

IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์

เราอาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่า รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ อย่างไร? ลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ ถนน ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการที่อยู่ของ เครื่องนั้นๆ บนอินเเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)
IP address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้
ตั้งแต่ 0 ถึง 255

ตัวอย่าง : IP address 208.49.20.16

เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรรIP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center) สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆไปจะได้รับ IP address จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งได้ทำการขอ IP address เตรียมไว้ ล่วงหน้าแล้ว


Domain Name : อินเทอร์เน็ตแอตเดรส

ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าง จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ โดเมนเนมมาใช้ กล่าวคือการนำ
ตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน ดังนั้นโดเมนเนม มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท หรือชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น

208.49.20.16 < ---------------> www.srithai.com

(IP Address) (โดเมนเนม)

แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น IP address โดยจะมีการจัดตั้ง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่มีชื่อเรียกว่า DNS Serve

www.srithai.com -----> DNS Server -----> 208.49.20.16

ที่มา http://www.skn.ac.th/a_cd/printout/printpage2.html

e Learn English Language

วันนี้ขอแนะนำเวบไซด์เรียนภาษาอังกฤษ
ลองแล้วคะ มีข้อมูลเนื้อหามากมาย อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีคะ

e Learn English Language
Free English Lessons
Online language learning with Laura K. Lawless

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่คะ
http://www.elearnenglishlanguage.com/esl/grammar/grammar.html

นวัตกรรมใหม่ของ Nokia


นวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์มือถือยืดหยุ่น
(ยืด หอ โค้งงอ ได้ตามต้องการ)

วิวัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี ช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความยืดหยุ่น สามารถยืดหดและโค้งงอได้ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์รุ่นดังกล่าวชื่อว่า Morph ได้ถูกนำไปแสดงในนิทรรศการ New Design and Elastic Mind ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแขนงใหม่ (Museum of Modern Art: MoMA) ในนครนิวยอร์ค โดยนิทรรศการดังกล่าวจัดระหว่าง 24 กุมภาพันธ์ ถึง 12 พฤษภาคม 2008

แนวคิดในการประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือยืดหดที่มีความยืดหยุ่นได้นี้ เป็นของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ร่วมกับศูนย์วิจัยของ Nokia ซึ่งเริ่มต้นวิจัยมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2007 การคิดค้น Nokia Morph เป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ด้านนาโนเทคโนโลยี และศิลปะการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงในอนาคต

Morph เป็นต้นแบบของโทรศัทพ์มือถือในอนาคตที่สามารถยืดหด และดัดไปมาเป็นรูปร่างต่างๆในแนวโค้งได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปร่างของมันได้หลากหลายเพื่อการใช้งานทั้งเป็น โทรศัพท์ แถบรัดข้อมือ นาฬิกาข้อมือ หรือแม้แต่หูฟัง(hand free) วัสดุที่นำมาผลิตใช้หลักการของนาโนเทคโนโลยี ซึ่งต้องเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่น โปร่งใสให้เห็นระบบอิเลกทรอนิกส์ด้านใน และทำความสะอาดบริเวณผิวได้ด้วยตัวเอง

วิดีโอแสดงการทำงานของโทรศัพท์มือถือ Nokia Morph สามารถเข้าไปชมได้ทาง http://www.nokia.com/A4879144

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/138883

มาทำความรู้จักกันมากขึ้น????


แนะนำัตัวก่อนนะคะ

ชื่อ ภคพร น้อยมิ่ง ยุ้ยคะ
ติดต่อกันได้ที่เมลล์ : pn_25@hotmail.com
: phakhaporn@gmail.com

จาก Hi5

http://www.hi5.com/friend/profile/displaySameProfile.do?userid=-1

จาก Tagged

http://www.tagged.com/profile.html

การบริหารงานที่ดี

การบริหารงานที่ดี คือธรรมาภิบาล หมายถึงการจัดการทรัพยากรขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือองค์กรเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่เรียกว่า NGO ให้เป็นการบริหารที่ดี หมายความว่ามีเป้าหมายที่จะจัดสรรทรัพยากรนั้นให้เกิดความสมดุลขึ้น ให้มีความถูกต้องสุจริต ให้มีสิ่งที่เรียกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการที่ดีคือมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ถูกตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วมจากคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตามส่วนที่เขาควรจะได้
ความสำคัญของการบริหารงานที่ดี

การบริหารงานที่ดี มีความสำคัญทั้งในแง่เป้าหมาย และในแง่วิธีการในการบริหารงานนั้นคุณมีปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องคือ

1. งาน
2. คน
3. เงิน
เมื่อ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ประการหลักนี้จะมีเครื่องมือเครื่องใช้อะไรเข้าไปเป็นประการที่ 4 ก็แล้วแต่ เราต้องมีเป้าหมายในการบริหาร การบริหารจัดการที่ไม่มีเป้าหมายนั้น เป็นการบริหารจัดการที่ไม่ดี เพราะเปรียบเสมือนหนึ่งเราออกเรือไปในท้องทะเลในมหาสมุทรโดยไม่มีทิศที่จะไป ไปสุดแต่ใจจะพาไปที่ไหน เป็นนายท้ายเรือ เป็นกัปตันที่ไร้ทิศทาง ฉันใดก็ฉันนั้น การบริหารที่ดีนั้นต้องตั้งที่เป้าหมายเสียก่อน เป้าหมายมี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 คือเป้าหมายตามพันธกิจ
ส่วนที่ 2 คือเป้าหมายที่เป็นการบริหารจัดการที่ดี
จะต้องมี 2 องค์ประกอบนี้อยู่เสมอ ส่วนที่เป็นเป้าหมายตามพันธกิจนั้น เราคงจะต้องมีแผนที่เรียกว่าแผนกลยุทธ์ที่กำหนดว่าจะทำอะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ และจะใช้เงินเท่าไหร่ นี่คือสิ่งที่จะต้องวางเป้าหมายตามพันธกิจ
ในการบริหารจัดการยุคนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ 2 ก่อให้เกิดความสมดุลขึ้นในการจัดสรรทรัพยากร และใช้ทรัพยากรที่จำกัดอยู่ขององค์กร เพื่อสนองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเป็นสถาบันพระปกเกล้า เราต้องนึกถึงคนแรกว่าเราจะ สนองเขาได้อย่างไรให้ดีที่สุดคือ นักศึกษาและผู้มาเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ รวมตลอดจนประชาชนที่รับการเผยแพร่ของเรา นั่นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
กลุ่มแรก ความพึงพอใจของเขาจะต้องเป็นหัวใจของการปฏิบัติหน้าที่เรา
กลุ่มที่ 2 คือพนักงานและลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในสถาบันเราจะไปเอาแต่กลุ่มแรกและละเลยกลุ่มที่ 2 ขวัญกำลังใจ เขาก็ไม่มีความก้าวหน้าเขาก็ไม่มี ก็ไม่ได้
กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่เรียกว่าผู้ที่มาติดต่อกับเราในฐานะที่เป็นผู้ขายบริการให้เราเวลาเราจะซื้อของ พวกซัพพลายส์เออร์ทั้งหลายเขาก็ต้องได้รับการพิจารณาดูแลด้วย เขามาติดต่ออะไรกับเราอย่าให้เสียเวลาล่าช้า อย่าอ้างเรื่องภายในไปพูดกับคนนอกอย่างนี้เป็นต้น
ถ้าเราดูแลคนเหล่านี้ให้เขาพึงพอใจในระดับที่เหมาะสมของทุกฝ่าย เรียกว่าเราบริหารจัดการทรัพยากรที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นคนไม่ว่าจะเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างสมดุล และเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกคนจะเป็นวิธีบริหารจัดการที่ดี

จิตวิทยาในการทำงานในฐานะผู้บริหาร

ใช้หลักแรกในการบริหารที่ตัวเราก่อน เราต้องบริหารตัวเราให้ได้เสียก่อน คือจะไปบริหารคนอื่นถ้าคุณบริหารตัวคุณเองไม่ได้ ไม่ต้องพูดเลย ในการบริหารตัวเราเองนั้น คิดว่าธรรมะสำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ เวสสา รัชชะ การะนะธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนมา 2,500 ปีเศษแล้ว เวสสา รัชชะ การะนะธรรม มี 5 ข้อในการวางตัวของเราในฐานะผู้บริหาร

ข้อที่ 1 คือเราต้องมีศรัทธาในสิ่งที่เรากำลังทำ เพราะถ้าเราปราศจากซึ่งศรัทธาเสียแล้ว เราก็ทำไปแกนๆ วันหนึ่งเท่านั้นเพื่อ ให้ได้รับเงินเดือน จะสำเร็จไม่สำเร็จ จะดีไม่ดีก็ช่าง ยิ่งถ้าบริหารในสิ่งที่ตัวไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อแล้ว ไม่มีทางที่จะสำเร็จได้เพราะฉะนั้นศรัทธาคือตัวแรกในการบริหารตัวเราเอง เราต้องรู้ว่าเราชอบสิ่งนั้นศรัทธาสิ่งนั้น กำลังพูดในสิ่งซึ่งเราเชื่ออยู่
ข้อ 2 คือมีสิ่งที่เรียกว่าพาหุสัจจะ แปลว่าต้องเป็นคนตามโลกอ่านมาก ฟังมาก รู้ความเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษคือเลินนิ่ง
ออร์ แกไนเซชั่น, เลินนิ่ง เพอร์ซอนแนลลิตี้ คือเรียนตลอดเวลา ไม่ใช่นึกว่าข้าพเจ้าเป็นน้ำชาเต็มถ้วยแล้วจะเอาอะไรมาเติมลงไม่ได้ คนที่บริหารในลักษณะน้ำชาเต็มถ้วยนับถอยหลังได้เลย ถ้าเป็นนักธุรกิจเตรียมจะเจ๊งได้เลย เพราะว่าคนอื่นเขาปรับกลยุทธ์เรื่องผลผลิต เรื่องวิธีการผลิต เรานั่งทำอยู่แต่ของเดิม โลกจะไปถึงไหนแล้วไม่รู้ไม่ได้ จะรู้ต้องมีพาหุสัจจะ คืออ่านมาก ฟังมาก สังเกตมาก พูดง่ายๆ เรียนรู้ตลอดเวลา จากที่ไม่น่าจะเรียนรู้ได้เราก็ต้องเรียนรู้ เช่น จากลูกน้องเราบางคน เวลาเขาพูดอะไรทำให้เราได้คิด เราเอาไปคิดต่อได้
ข้อ 3 คือ วิริยารัมภะ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คุณจะสำเร็จอะไรไม่ได้ คุณจะไม่มีความอาจหาญอะไรถ้าคุณไม่มีความเพียร เพียรให้สูงสุดเหมือนพระมหาชนก คืออาจจะไม่สำเร็จวันนี้แต่พรุ่งนี้อาจจะสำเร็จ ไม่สำเร็จพรุ่งนี้ไม่เป็นไรปีหน้า ต้องมีความเพียรพยายาม
ข้อ 4 ต้องมีศีล พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าคนที่จะมีความอาจหาญในการบริหารทั้งหลายทั้งปวงจะต้องไม่เป็นวัวสันหลังหวะที่กาบินผ่านก็ตกใจแล้ว จะอาจหาญได้ จะลุยไปข้างหน้าได้ต้องไม่มีแผลข้างหลังเมื่อจะไม่มีแผลข้างหลังคุณต้องมีศีล คือไม่ทำใน
สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แต่ตรงกันข้ามก่อให้เกิดโทษแก่ตัวเอง แก่ครอบครัว หรือแก่หน่วยงาน
ข้อ 5 พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าให้ใช้สติปัญญา ต้องใช้ปัญญาทุกอย่างในการแก้ปัญหา จะแก้ด้วยอารมณ์ไม่ได้ มนุษย์เราทุกคนมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้าใช้อารมณ์เป็นเครื่องตัดสินใจเมื่อใดเมื่อนั้นก็ผิดพลาดต้องใช้ปัญญา
นี่คือการบริหารตัวเราเอง ถามว่าจิตวิทยาในการบริหารหลายคนท่านใช้ด้วยความสำเร็จ และแนะนำให้ลูกผมใช้เมื่อเขามีปัญหากับเพื่อนเขา ทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็ประสบความสำเร็จ มาจากธรรมะพระพุทธเจ้าอีกนั่นแหละคือสังคหะวัตถุธรรม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าธรรมะที่เรียกว่า สังคหะวัตถุธรรม ใครทำต่อใครจะได้รับความชื่นชม นายทำกับลูกน้อง ๆ จะรักนายเราทำกับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจะรักเรา เราทำกับเพื่อนเราเพื่อนเราจะรักเร า 4 ข้อง่ายๆ ไม่ยากคือ
1.ทาน คือการให้ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งของตามโอกาส ให้ทั้งสิ่งที่เรียกว่าความรู้ ความเมตตา ถ้าเป็นลูกน้องเราต้องให้เวลากับเขาเราต้อง โคลสชิ่ง คือให้คำแนะนำเขา นักบริหารที่ดีถึงแม้ตัวเองจะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน ต้องเข้าใจว่าเรามีหน้าที่ต้องให้กำลังใจ อย่าไปทำลายกำลังใจคนที่เป็นลูกน้อง เวลาชมเขาก็ชมต่อหน้า แต่เวลาที่จะสอนเขา ตำหนิเขาต้องเรียกมา 2 ต่อ 2 อย่าให้รู้ว่าเป็นการตำหนิตรงๆ ต้องเป็นการสอน จากบทเรียนที่พลาดมาแล้วให้พัฒนาไปข้างหน้า เรียกว่าให้กำลังใจให้กำลังใจอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องให้คำแนะนำ เมื่อเขาประสบปัญหาไปแล้วเราต้องให้คำแนะนำแก้ไข ไม่พอต้องให้อำนาจด้วยเอ็มพาวเวอร์เมนท์ หัวหน้าหน่วยงานหลายคนที่ประสบความสำเร็จ เขาไม่ได้รวบงานไว้ที่ตัวเองคนเดียวเขาให้อำนาจกับลูกน้อง ให้ลูกน้องมีความรู้สึกว่าตัวเองทำได้มีความสำคัญ และพัฒนาตัวเองขึ้นมา และให้อันสุดท้ายคือให้อภัย ในกรณีที่เขาเกิดความผิดพลาดบกพร่อง การให้อภัยผู้บังคับบัญชาต้องใช้ให้ดีเพราะว่าถ้าให้อภัยทุกเรื่องในเรื่อง ซึ่งผิดร้ายแรง ที่จะต้องลงโทษก็ไม่ลง อย่างนี้เรียกว่าไม่มีอุเบกขาธรรม คือไม่รู้จักวางเฉยในสิ่งอันควรจะต้องวางเฉย
ข้อที่ 2 คือปิยะวาจา หมายความว่า เพื่อนร่วมงานต่อกัน ลูกน้องต่อผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาต่อลูกน้อง ถ้าหากว่าใช้วาจาที่อ่อนหวานต่อกัน เป็นวาจาที่เป็นประโยชน์ต่อกัน วาจาที่เป็นประโยชน์พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามี 4-5 หลัก คือ 1.พูดอย่างมีที่มาที่อ้างอิงไม่ใช่พูดลอยๆ ตามความรู้สึก
2.พูดความจริงอย่าเอาความเท็จมาพูด
3.พูดถูกกาละเทศะ ไม่ควรจะพูดในเวลาที่ไม่ควรจะพูดแล้วเขาเกิดทะเลาะกันขึ้น
4.พูดมีประโยชน์ ความจริงอาจจะไม่มีประโยชน์ก็ได้อย่าไปพูด
5.พูดให้ไพเราะนุ่มนวล
ข้อที่ 3 อรรถจริยา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ต้องมาขอทำเถอะ ทำให้เขา ทำให้หน่วยงานที่เราอยู่ ทำให้ลูกน้องของเรา เขาก็เห็นเองว่าคนที่เป็นผู้บริหารนั้น 24 ชั่วโมงคิดถึงอยู่แต่สิ่งที่จะทำให้หน่วยงานนั้นดีขึ้น ตัวพวกเขาดีขึ้น อะไรเป็นประโยชน์เอามาทำให้โดยไม่ต้องร้องไม่ต้องขอ
ข้อที่ 4 คือผู้บริหารต้องเสมอต้นเสมอปลาย คือดีเสมอต้นเสมอปลาย วันนี้ยิ้ม พรุ่งนี้ยิ้ม มะรืนนี้ยิ้ม ไม่ใช่วันนี้ยิ้ม พรุ่งนี้บึ้ง วันนี้อารมณ์ดีอะไรก็ให้ พรุ่งนี้อารมณ์เสียขึ้นมาอะไรก็ไม่ให้สักอย่าง ไม่อนุมัติสักอย่าง อย่างนี้เรียกว่า EQ ต่ำ และไม่มีความเสมอต้นเสมอปลาย