e-learning Courseware Designer รุ่นที่ 1 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอรฺ์

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

การบริหารงานที่ดี

การบริหารงานที่ดี คือธรรมาภิบาล หมายถึงการจัดการทรัพยากรขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือองค์กรเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่เรียกว่า NGO ให้เป็นการบริหารที่ดี หมายความว่ามีเป้าหมายที่จะจัดสรรทรัพยากรนั้นให้เกิดความสมดุลขึ้น ให้มีความถูกต้องสุจริต ให้มีสิ่งที่เรียกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการที่ดีคือมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ถูกตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วมจากคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตามส่วนที่เขาควรจะได้
ความสำคัญของการบริหารงานที่ดี

การบริหารงานที่ดี มีความสำคัญทั้งในแง่เป้าหมาย และในแง่วิธีการในการบริหารงานนั้นคุณมีปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องคือ

1. งาน
2. คน
3. เงิน
เมื่อ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ประการหลักนี้จะมีเครื่องมือเครื่องใช้อะไรเข้าไปเป็นประการที่ 4 ก็แล้วแต่ เราต้องมีเป้าหมายในการบริหาร การบริหารจัดการที่ไม่มีเป้าหมายนั้น เป็นการบริหารจัดการที่ไม่ดี เพราะเปรียบเสมือนหนึ่งเราออกเรือไปในท้องทะเลในมหาสมุทรโดยไม่มีทิศที่จะไป ไปสุดแต่ใจจะพาไปที่ไหน เป็นนายท้ายเรือ เป็นกัปตันที่ไร้ทิศทาง ฉันใดก็ฉันนั้น การบริหารที่ดีนั้นต้องตั้งที่เป้าหมายเสียก่อน เป้าหมายมี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 คือเป้าหมายตามพันธกิจ
ส่วนที่ 2 คือเป้าหมายที่เป็นการบริหารจัดการที่ดี
จะต้องมี 2 องค์ประกอบนี้อยู่เสมอ ส่วนที่เป็นเป้าหมายตามพันธกิจนั้น เราคงจะต้องมีแผนที่เรียกว่าแผนกลยุทธ์ที่กำหนดว่าจะทำอะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ และจะใช้เงินเท่าไหร่ นี่คือสิ่งที่จะต้องวางเป้าหมายตามพันธกิจ
ในการบริหารจัดการยุคนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ 2 ก่อให้เกิดความสมดุลขึ้นในการจัดสรรทรัพยากร และใช้ทรัพยากรที่จำกัดอยู่ขององค์กร เพื่อสนองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเป็นสถาบันพระปกเกล้า เราต้องนึกถึงคนแรกว่าเราจะ สนองเขาได้อย่างไรให้ดีที่สุดคือ นักศึกษาและผู้มาเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ รวมตลอดจนประชาชนที่รับการเผยแพร่ของเรา นั่นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
กลุ่มแรก ความพึงพอใจของเขาจะต้องเป็นหัวใจของการปฏิบัติหน้าที่เรา
กลุ่มที่ 2 คือพนักงานและลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในสถาบันเราจะไปเอาแต่กลุ่มแรกและละเลยกลุ่มที่ 2 ขวัญกำลังใจ เขาก็ไม่มีความก้าวหน้าเขาก็ไม่มี ก็ไม่ได้
กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่เรียกว่าผู้ที่มาติดต่อกับเราในฐานะที่เป็นผู้ขายบริการให้เราเวลาเราจะซื้อของ พวกซัพพลายส์เออร์ทั้งหลายเขาก็ต้องได้รับการพิจารณาดูแลด้วย เขามาติดต่ออะไรกับเราอย่าให้เสียเวลาล่าช้า อย่าอ้างเรื่องภายในไปพูดกับคนนอกอย่างนี้เป็นต้น
ถ้าเราดูแลคนเหล่านี้ให้เขาพึงพอใจในระดับที่เหมาะสมของทุกฝ่าย เรียกว่าเราบริหารจัดการทรัพยากรที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นคนไม่ว่าจะเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างสมดุล และเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกคนจะเป็นวิธีบริหารจัดการที่ดี

จิตวิทยาในการทำงานในฐานะผู้บริหาร

ใช้หลักแรกในการบริหารที่ตัวเราก่อน เราต้องบริหารตัวเราให้ได้เสียก่อน คือจะไปบริหารคนอื่นถ้าคุณบริหารตัวคุณเองไม่ได้ ไม่ต้องพูดเลย ในการบริหารตัวเราเองนั้น คิดว่าธรรมะสำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ เวสสา รัชชะ การะนะธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนมา 2,500 ปีเศษแล้ว เวสสา รัชชะ การะนะธรรม มี 5 ข้อในการวางตัวของเราในฐานะผู้บริหาร

ข้อที่ 1 คือเราต้องมีศรัทธาในสิ่งที่เรากำลังทำ เพราะถ้าเราปราศจากซึ่งศรัทธาเสียแล้ว เราก็ทำไปแกนๆ วันหนึ่งเท่านั้นเพื่อ ให้ได้รับเงินเดือน จะสำเร็จไม่สำเร็จ จะดีไม่ดีก็ช่าง ยิ่งถ้าบริหารในสิ่งที่ตัวไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อแล้ว ไม่มีทางที่จะสำเร็จได้เพราะฉะนั้นศรัทธาคือตัวแรกในการบริหารตัวเราเอง เราต้องรู้ว่าเราชอบสิ่งนั้นศรัทธาสิ่งนั้น กำลังพูดในสิ่งซึ่งเราเชื่ออยู่
ข้อ 2 คือมีสิ่งที่เรียกว่าพาหุสัจจะ แปลว่าต้องเป็นคนตามโลกอ่านมาก ฟังมาก รู้ความเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษคือเลินนิ่ง
ออร์ แกไนเซชั่น, เลินนิ่ง เพอร์ซอนแนลลิตี้ คือเรียนตลอดเวลา ไม่ใช่นึกว่าข้าพเจ้าเป็นน้ำชาเต็มถ้วยแล้วจะเอาอะไรมาเติมลงไม่ได้ คนที่บริหารในลักษณะน้ำชาเต็มถ้วยนับถอยหลังได้เลย ถ้าเป็นนักธุรกิจเตรียมจะเจ๊งได้เลย เพราะว่าคนอื่นเขาปรับกลยุทธ์เรื่องผลผลิต เรื่องวิธีการผลิต เรานั่งทำอยู่แต่ของเดิม โลกจะไปถึงไหนแล้วไม่รู้ไม่ได้ จะรู้ต้องมีพาหุสัจจะ คืออ่านมาก ฟังมาก สังเกตมาก พูดง่ายๆ เรียนรู้ตลอดเวลา จากที่ไม่น่าจะเรียนรู้ได้เราก็ต้องเรียนรู้ เช่น จากลูกน้องเราบางคน เวลาเขาพูดอะไรทำให้เราได้คิด เราเอาไปคิดต่อได้
ข้อ 3 คือ วิริยารัมภะ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คุณจะสำเร็จอะไรไม่ได้ คุณจะไม่มีความอาจหาญอะไรถ้าคุณไม่มีความเพียร เพียรให้สูงสุดเหมือนพระมหาชนก คืออาจจะไม่สำเร็จวันนี้แต่พรุ่งนี้อาจจะสำเร็จ ไม่สำเร็จพรุ่งนี้ไม่เป็นไรปีหน้า ต้องมีความเพียรพยายาม
ข้อ 4 ต้องมีศีล พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าคนที่จะมีความอาจหาญในการบริหารทั้งหลายทั้งปวงจะต้องไม่เป็นวัวสันหลังหวะที่กาบินผ่านก็ตกใจแล้ว จะอาจหาญได้ จะลุยไปข้างหน้าได้ต้องไม่มีแผลข้างหลังเมื่อจะไม่มีแผลข้างหลังคุณต้องมีศีล คือไม่ทำใน
สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แต่ตรงกันข้ามก่อให้เกิดโทษแก่ตัวเอง แก่ครอบครัว หรือแก่หน่วยงาน
ข้อ 5 พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าให้ใช้สติปัญญา ต้องใช้ปัญญาทุกอย่างในการแก้ปัญหา จะแก้ด้วยอารมณ์ไม่ได้ มนุษย์เราทุกคนมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้าใช้อารมณ์เป็นเครื่องตัดสินใจเมื่อใดเมื่อนั้นก็ผิดพลาดต้องใช้ปัญญา
นี่คือการบริหารตัวเราเอง ถามว่าจิตวิทยาในการบริหารหลายคนท่านใช้ด้วยความสำเร็จ และแนะนำให้ลูกผมใช้เมื่อเขามีปัญหากับเพื่อนเขา ทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็ประสบความสำเร็จ มาจากธรรมะพระพุทธเจ้าอีกนั่นแหละคือสังคหะวัตถุธรรม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าธรรมะที่เรียกว่า สังคหะวัตถุธรรม ใครทำต่อใครจะได้รับความชื่นชม นายทำกับลูกน้อง ๆ จะรักนายเราทำกับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจะรักเรา เราทำกับเพื่อนเราเพื่อนเราจะรักเร า 4 ข้อง่ายๆ ไม่ยากคือ
1.ทาน คือการให้ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งของตามโอกาส ให้ทั้งสิ่งที่เรียกว่าความรู้ ความเมตตา ถ้าเป็นลูกน้องเราต้องให้เวลากับเขาเราต้อง โคลสชิ่ง คือให้คำแนะนำเขา นักบริหารที่ดีถึงแม้ตัวเองจะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน ต้องเข้าใจว่าเรามีหน้าที่ต้องให้กำลังใจ อย่าไปทำลายกำลังใจคนที่เป็นลูกน้อง เวลาชมเขาก็ชมต่อหน้า แต่เวลาที่จะสอนเขา ตำหนิเขาต้องเรียกมา 2 ต่อ 2 อย่าให้รู้ว่าเป็นการตำหนิตรงๆ ต้องเป็นการสอน จากบทเรียนที่พลาดมาแล้วให้พัฒนาไปข้างหน้า เรียกว่าให้กำลังใจให้กำลังใจอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องให้คำแนะนำ เมื่อเขาประสบปัญหาไปแล้วเราต้องให้คำแนะนำแก้ไข ไม่พอต้องให้อำนาจด้วยเอ็มพาวเวอร์เมนท์ หัวหน้าหน่วยงานหลายคนที่ประสบความสำเร็จ เขาไม่ได้รวบงานไว้ที่ตัวเองคนเดียวเขาให้อำนาจกับลูกน้อง ให้ลูกน้องมีความรู้สึกว่าตัวเองทำได้มีความสำคัญ และพัฒนาตัวเองขึ้นมา และให้อันสุดท้ายคือให้อภัย ในกรณีที่เขาเกิดความผิดพลาดบกพร่อง การให้อภัยผู้บังคับบัญชาต้องใช้ให้ดีเพราะว่าถ้าให้อภัยทุกเรื่องในเรื่อง ซึ่งผิดร้ายแรง ที่จะต้องลงโทษก็ไม่ลง อย่างนี้เรียกว่าไม่มีอุเบกขาธรรม คือไม่รู้จักวางเฉยในสิ่งอันควรจะต้องวางเฉย
ข้อที่ 2 คือปิยะวาจา หมายความว่า เพื่อนร่วมงานต่อกัน ลูกน้องต่อผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาต่อลูกน้อง ถ้าหากว่าใช้วาจาที่อ่อนหวานต่อกัน เป็นวาจาที่เป็นประโยชน์ต่อกัน วาจาที่เป็นประโยชน์พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามี 4-5 หลัก คือ 1.พูดอย่างมีที่มาที่อ้างอิงไม่ใช่พูดลอยๆ ตามความรู้สึก
2.พูดความจริงอย่าเอาความเท็จมาพูด
3.พูดถูกกาละเทศะ ไม่ควรจะพูดในเวลาที่ไม่ควรจะพูดแล้วเขาเกิดทะเลาะกันขึ้น
4.พูดมีประโยชน์ ความจริงอาจจะไม่มีประโยชน์ก็ได้อย่าไปพูด
5.พูดให้ไพเราะนุ่มนวล
ข้อที่ 3 อรรถจริยา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ต้องมาขอทำเถอะ ทำให้เขา ทำให้หน่วยงานที่เราอยู่ ทำให้ลูกน้องของเรา เขาก็เห็นเองว่าคนที่เป็นผู้บริหารนั้น 24 ชั่วโมงคิดถึงอยู่แต่สิ่งที่จะทำให้หน่วยงานนั้นดีขึ้น ตัวพวกเขาดีขึ้น อะไรเป็นประโยชน์เอามาทำให้โดยไม่ต้องร้องไม่ต้องขอ
ข้อที่ 4 คือผู้บริหารต้องเสมอต้นเสมอปลาย คือดีเสมอต้นเสมอปลาย วันนี้ยิ้ม พรุ่งนี้ยิ้ม มะรืนนี้ยิ้ม ไม่ใช่วันนี้ยิ้ม พรุ่งนี้บึ้ง วันนี้อารมณ์ดีอะไรก็ให้ พรุ่งนี้อารมณ์เสียขึ้นมาอะไรก็ไม่ให้สักอย่าง ไม่อนุมัติสักอย่าง อย่างนี้เรียกว่า EQ ต่ำ และไม่มีความเสมอต้นเสมอปลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น